วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผลงานทางวิชาประวัติศาสตร์ที่ชื่นชอบ



                                                                
                                           • ขอม - เขมร - กัมพูชา
 ขอมเป็นชื่อชนชาติที่เก่าแก่ ต่อมาก็มาเรียกกันว่าเขมร และกลายเป็นกัมพูชาในปัจจุบัน เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแหลมทองในส่วนที่เรียกว่า อินโดจีน
 หน้าประวัติศาสตร์ของขอม เขมร หรือกัมพูชานั้น จะพลิกค้นหามาจากศิลาจารึกที่มีอยู่ รวมทั้งจดหมายเหตุที่ได้ติดต่อกับแว่นแคว้นเพื่อนบ้านอันได้แก่ มอญทางด้านตะวันตก จามทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จีนทางด้านตอนบน หรือชวาในดินแดนโพ้นทะเล
อาณาจักรฟูนาน หรือ ฟูนัน ซึ่งแปลว่าภูเขา ได้เริ่มต้นด้วยการเป็นศูนย์กลางเล็กๆ ที่ปกครองโดยผู้หญิง มีนามว่า พระนางหลิวเหย่ ราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีกองทัพอินเดียซึ่งนำโดย พราหม์โกณฑัญญะ ยกทัพมาโจมตีได้ชัยชนะและได้พระนางหลิวเหย่เป็นชายา พร้อมสถาปนาขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรฟูนัน และเชื่อกันว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาณาจักรนี้ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้
ราวพุทธศตวรรษที่ 12 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ได้ย้ายราชธานีลงมาทางตอนใต้และได้สถาปนาเมืองอีศานปุระขึ้นเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 13 เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 อาณาจักรเจนละได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 แคว้นใหญ่ และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน คือ เจนละบก กินอาณาบริเวณอยู่ทางตอนเหนือที่เป็นภูเขาและที่ราบสูง กับ เจนละน้ำ กินอาณาบริเวณทางตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มจนจดชายฝั่งทะเล
 ในปี พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้เป็นผู้รวบรวมอาณาจักรทั้งเจนละบกและเจนละน้ำเข้าด้วยกันได้ ทรงสถาปนาเป็นอาณาจักรกัมพุช หรือ กัมพูชา และได้วางรากฐานของพระราชอำนาจไว้อย่างมั่นคงครอบคลุมบริเวณตอนเหนือทะเลสาบใหญ่ โดยมีเมืองหริหราลัยเป็นนครหลวง ต่อมาในสมัย พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทรงสถาปนาเมืองยโศธรปุระ เป็นเมืองหลวง พอถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ก็ทรงย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่เมืองโฉกการยกยาร์ แต่พอถึงพระเจ้าราเชนทรวรมันก็ทรงย้ายเมืองหลวงกลับไปที่เมืองยโศธรปุระอีก
 อาณาจักรไดโดเวียด ในสมัยของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ทรงสถาปนาอาณาจักรไดโดเวียดขึ้น แล้วมีกษัตริย์สืบราชสมบัติต่อมาตามลำดับ ได้แก่ พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 พระเจ้าอุทัยทิตยวรมัน พระเจ้าหรรษาวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 และพระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน ก็ถูกกองทัพจามเข้ายึดเมืองยโศธรปุระ 
 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสถาปนานครธมเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่แล้วมีกษัตริย์สืบต่อ ได้แก่ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรรมปรเมศวร พระเจ้าศรีราช จนถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมลำพงศ์ราชา
 ปี พ.ศ. 1974 ในสมัยของสมเด็จเจ้าสามพระยา อาณาจักรเมืองพระนครจึงได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา เมื่อแล้วโปรดฯ ให้พระอินทราชาราชบุตรของพระเจ้าธรรมโศกเจ้านายเขมรขึ้นครองเมือง ต่อมาสมัยพระยาญาติ ได้ครองราชย์ต่อและโปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงพนมเปญ 
 ผลพวงจากสงครามจึงเป็นเหตุให้เมืองพระนครธมและปราสาทเทวาลัยในศูนย์กลางเก่าของอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งอยู่ในบริเวณเมืองเสียมเรียบได้กลายสภาพเป็นเมืองร้างทิ้งร่องรอยอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ในป่าอย่างยิ่งมรดกทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ที่ยั่งยืนปรากฏอวดอ้างความเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกรกชัฏสืบมา
 พ.ศ. 2431 ฝรั่งเศสก็เข้ายึดดินแดนในอินโดจีนเป็นอาณานิคม และเขตแดนเขมรที่เคยตกเป็นของไทยมานาน คือ เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณก็ต้องยกให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนกับอำนาจศาล เมืองด่านซ้าย และจังหวัดตราด ตามสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม 2450 ซึ่งตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 5
 พ.ศ. 2496 กัมพูชาก็ได้เอกราชคืนจากฝรั่งเศส โดยมีสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุเป็นกษัตริย์องค์แรก แล้วก็มีความผันผวนทางการเมืองจนสถานการณ์ของประเทศเสมือนไม่เคยจะสงบสุขกันอย่างแท้จริง และถึงขนาดเกินโศกนาฏกรรมฆ่าฟันกันเองเป็นล้านๆ คน
 จากหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั้งศิลาจารึก จดหมายเหตุ รวมทั้งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ยังปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากในดินแดนกัมพูชา ไทย ลาว และเวียดนาม แสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติอันเก่าแก่ของกัมพูชาอันกอปรด้วยอานุภาพทางการเมือง การทหาร และอารยธรรมอันรุ่งเรืองมากชาติหนึ่งของโลก มีอายุนับเนื่องแต่พุทธศตวรรษที่ 7 สืบต่อมาเป็นระยะเวลาเกือบ 2,000 ปี โดยเฉพาะ

โบราณวัตถุสถานที่แสดงถึงอารยธรรมขอมนั้น ส่วนใหญ่ก่อเกิดขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากความศรัทธาในศาสนา คือ พราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ปัจจุบันโบราณสถานในเขตพื้นที่กัมพูชาโดยเฉพาะในจังหวัดเสียมเรียบ ได้ถูกค้นพบแล้วมากมายเกือบ 600 แห่ง มีทั้งที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์และที่ปรักหักพังเพราะถูกทิ้งร้างมาเนิ่นนาน ปัจจุบันกำลังได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อินเดีย และอินโดนีเซีย
 ยุคสมัยก่อนพระนครหรืออาณาจักรเจนละ 
 พ.ศ.1093-1345 เป็นสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ได้มีการแยกตัวออกจากอาณาจักรฟูนันแล้วมาตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเสฏฐาปุระ ในช่วงต่อมาสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่1 ได้เกิดเหตุการณ์อันเนื่องจากการขัดแย้งขึ้นมาจึงทำให้อาณาจักรเจนละ ได้แตกออกเป็น2ฝ่ายคือ เจนละบกและเจนละน้ำ
 ยุคเมืองพระนคร
 พ.ศ. 1345 เป็นสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่2 ได้มีการประกาศอิสรภาพจากชวาแล้วก็ได้ทำการรวบรวมเจนละน้ำและเจนละบก จากนั้นก็ได้ตั้งราชธานีขึ้นมาใหม่ที่เมืองหริหราลาลัย(เรอลั้วะ) จากนั้นได้ย้ายไปยังอินทราปุระ(อมเรนทรปุระ) มเหนทรปุระ(พนมปุเรน) หลังจากนั้นก็ได้กลับมาหริหราลัยอีกครั้งหนึ่งในครั้งนี้จึงได้ถือเป็นการเริ่มต้นของอาณาจักรเขมรโบราณ
 พ.ศ. 1432 เป็นสมัยของพระเจ้ายโสวรมันที่1 ได้มีการสร้างเมืองยโสธรปุระขึ้นเป็นเมืองหลวงมีภูเขาพนมบาแค็งเป็นศูนย์กลาง ถือเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของกลุ่มเมืองนครหลวง ได้มีการสร้างสระบารายตะวันออก(ยโสธรฎาฎากะ) หลังจากนั้นก็ได้สร้างปราสาทโลเล็ย ปราสาทพนมกรอม พนมปก เขาพระวิหาร

 พ.ศ. 1471 เป็นสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ได้เกิดเหตุอุทกภัยยิ่งใหญ่ ในเมืองยโสธรปุระ จึงย้ายราชธานีไปยังเมือง โฉกเกยร์ (ไทยเรียกว่าเกาะแกร์) ได้ทำการสร้างปราสาทธม และเป็นปราสาทที่มีความสูงมากที่สุดของกัมพูชา รองมาจากนครวัด หลังจากนั้นก็ได้สร้างปราสาทกระวัน
 พ.ศ. 1487 เป็นสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ได้ทำการรวบรวมเจนละบกและเจนละน้ำอย่างเด็ดขาด แล้วได้ย้ายราชธานีกลับมายังเมืองยโสธรปุระอีกครั้ง โดยตั้งอยู่บริเวณปราสาทแม่บุญตะวันออก ให้ปราสาทแปรรูปเป็นศูนย์กลาง จากนั้นก็ได้ทำการก่อสร้างปราสาทพิมานอากาศ และปราสาทบันสรี ในยุคนี้ยังมีความรุ่งเรืองของศิลปะและการพาณิชย์ และยังทรงได้ยกทัพไปตีอาณาจักรของพวกจาม (เวียตนามกลาง) 
 พ.ศ. 1544 เป็นสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 เริ่มสร้างเมืองหลวงขึ้นมาใหม่ และได้ให้ปราสาทบาปวนเป็นศูยน์กลางการปกครอง 
 พ.ศ. 1603 เป็นสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ได้ขึ้นครองราชย์ ทรงสร้างปราสาทหินพิมาย ได้ให้มีการต่อเติมปราสาทเขาพระวิหาร รวมทั้งปราสาทวัดภู (จำปาสัก ลาว) 
 พ.ศ. 1656 เป็นสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทนครวัด เป็นกษัตริย์องค์แรกที่ปกครองอาณาจักรได้อย่างมั่นคง เข้มแข็งและเป็นปึกแผ่น 
 พ.ศ. 1693 เป็นสมัยของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่นับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน 

 พ.ศ. 1720-1721 ได้มีบรรดาเหล่ากองทัพของจาม มาทำการครอบครองเมืองยโสธรปุระ 
 พ.ศ. 1724-1763 เป็นสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทบายน เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางของนครหลวงที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ หลังจากที่เสร็จสิ้นจากศึกสงคราม ก็ได้สร้างปราสาทตาพรม ปราสาทตาสม ปราสาทนาคพัน และให้มีการต่อเติมปราสาทพระขรรค์ จนเสร็จสิ้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นกษัตริย์ ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของเมืองพระนคร 
 พ.ศ. 1763 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต จากนั้นพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ได้ขึ้นครองราชย์แทน ยุคนี้เมืองพระนครเริ่มเสื่อมอำนาจลง
 พ.ศ. 1786 เป็นสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ทรงนับถือศาสนาฮินดู นิกายไศวนิกาย ได้มีการสั่งทำลายรูปบูชาของพระพุทธศาสนาจนเสียหายมากมาย
 พ.ศ. 1826 สมัยของพระเจ้าศรีอินทรวรมันขึ้นครองราชย์ ต่อมาได้สร้างต็บตะวันออก หรือปราสาทมัคลาธา ซึ่งเป็นปราสาทหินหลังสุดท้ายของเมืองพระนคร
 พ.ศ. 1839 โจวตากวนออกเดินทางมาพร้อมกับเหล่าคณะทูตของจักรพรรดิจีนเข้ามายังดินแดนเมืองพระนคร 
 พ.ศ. 1870 เป็นสมัยของพระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร เป็นกษัตริย์เขมรองค์สุดท้าย ที่ปรากฏพระนามอยู่บนศิลาจารึก
 พ.ศ. 1974 สมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ของกรุงศรีอยุธยา ได้ทำการเข้าโจมตีเมืองพระนครใต้ (พงศาวดารเขมรบันทึกเป็น พ.ศ. 1976